ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) |
|
|
|
เขียนโดย อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท-Webmaster
|
วันอังคารที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๐๗:%M น. |
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ภาพจาก http://images.rxlist.com/images/SlideShow/Osteoporosis_s1_bone_density.jpg ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนคืออะไร ?
http://www.healthworksrf.com/images/osteoporosis.jpg โรคกระดูกพรุนเป็นโรคหรือภาวะที่ร่างกายมีการทำลายกระดูกมากกว่าการสร้าง หรือมีการสร้างกระดูกลดน้อยลงในขณะที่มีการทำลายกระดูกคงที่ เป็นผลให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง
ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเกิดเป็นโรคกระดูกพรุน ? 
http:www.suplementosdesalud.com/postercitos/big/osteoporosis_otro.jpg http://thm-a03.yimg.com/image/8a077c20db3b0604
โรคนี้มักจะพบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ โดยจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แต่ในเพศหญิงโรคนี้อาจเริ่มตรวจพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี หรือภายหลังหมดประจำเดือนไป 5-10 ปี เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งทำหน้าที่ช่วยพยุงความหนาแน่นของกระดูก ไว้ นอกจากนี้ยังมีภาวะอื่นที่สามารถทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ได้แก่
http://www.osteoporosis.com.au/images/small/osteoporosis_factsandqa.html_FUNCTION4.jpg
1. หญิงที่ถูกตัดมดลูกหรือรังไข่ทั้งสองข้างก่อนวัยหมดประจำเดือน หรือประจำเดือนหมดเร็วกว่าที่ควร 2. การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยากันชัก เป็นต้น 3. โรคที่มีผลต่อการดูดซึมของแคลเซี่ยม ได้แก่ โรคตับ โรคไต โรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น 4. คนผิวขาวและคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย 5. การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นเวลานาน |
|
ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะมีอาการอย่างไรบ้าง ? ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการและไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน นอกจากการตรวจพบโดยบังเอิญทางภาพรังสี แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการปวดกระดูกหรือกระดูกหัก เมื่อมีอุบัติเหตุที่รุนแรงไม่มากที่จะทำให้กระดูกในคนปกติหักได้ บางคนอาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังอันเป็นผลมาจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง และมีหลังค่อม ตัวเตี้ยลง
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร ?
http://www.med.uio.no/vortextest/medisin/ernaering/bilder/osteoporosis.jpg การวินิจฉัยโรคนี้ระยะแรกจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือในการวัดความ หนาแน่นของกระดูก ซึ่งมีราคาแพง และมีเพียงไม่กี่แห่งในประเทศ การวินิจฉัยด้วยภาพรังสีธรรมดาสามารถทำได้ แต่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงก็เมื่อมีการสูญเสียกระดูกไปมากแล้ว
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่ดีกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกพรุน การป้องกันสามารถกระทำได้โดย
1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือนควรออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก เช่น เดินไกล วิ่งเหยาะๆ รำมวยจีน เต้นรำ เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูก
2.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียม ที่สำคัญควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว 3.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้ว/วัน โดยปกตินมสด 1 แก้ว (250 ซีซี.) จะมีแคลเซียมประมาณ 200 มิลลิกรัม ในวัยเด็ก ต้องการแคลเซียมประมาณ 800 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่สตรีวัยหมดประจำเดือนและผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมวันละ 1,000-1,500 มิลลิกรัม แต่ในรายที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่ร่างกายต้องการ ก็อาจรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียม และไม่ต้องกังวลว่าร่างกายจะได้รับแคลเซียมมากเกินไป เพราะเมื่อร่างกายดูดซึมแคลเซียมจนถึงจุดสมดุลในกระดูกและเลือด แคลเซียมส่วนเกินจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระตามปกติ
4. หลีกเลี่ยงยาบางประเภท เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
เมื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวแล้วและผู้ป่วยยังมีอาการปวดหรือ กระดูกผุอยู่ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้การรักษาทางยา ยาที่มีผลในการช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ได้แก่ ยาฮอร์โมนเอสเตรเจน วิตามินดี และยาฮอร์โมนแคลซิโตนิน เป็นต้น
หลักการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม 
http://static.howstuffworks.com/gif/adam/images/en/calcium-source-picture.jpg
1.ดูตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ว่ามีวิตามินอื่นผสมหรือไม่ เพราะหากผสมวิตามินซีหรือวิตามินดีมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตราย 2. ดูว่าใน 1 เม็ด ให้อนุมูลแคลเซียมเท่าไร เพราะร่างกายต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัม 3.ดูว่าผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอยู่ในรูปแบบใด เนื่องจากแคลเซียมละลายน้ำจะถูกดูดซึมได้ยาก ดังนั้นควรใช้ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมแบบเม็ดฟู เพราะจะละลายและดูดซึมได้ดีกว่าแบบธรรมดา 4.ต้องดูว่าแคลเซียมในผลิตภัณฑ์เป็นเกลือแคลเซียมอะไร เนื่องจากเกลือแคลเซียมแต่ละชนิดจะดูดซึมต่างกันในสภาวะกรดในกระเพาะต่างกัน เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต จะดูดซึมได้น้อยลงถ้าผู้ป่วยมีกรดในกระเพาะอาหารน้อย อย่างไรก็ตาม การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และต้องไม่ลืมว่าการออกกำลังกายแต่พอเหมาะ และรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ท่านมีสุขภาพดีไปอีกนาน | |
แหล่งอ้างอิงข้อมูล - สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยที่ URL-http://www.thairheumatology.org/people01.php?id=85 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน
- Osteoporosis - Curcumin extract from turmeric can be used to combat osteoporosis ภาพจาก http://thm-a04.yimg.com/image/7403733e7ae9d3ce
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ ๐๗ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๕:%M น. |